ไตรสิกขากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Trisikkha to Improve Quality of Life)

คำอธิบาย

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ไตรสิกขากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า หลักไตรสิกขา หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการศึกษาและปฏิบัติ เพื่อฝึกอบรม กาย วาจา จิตใจและสติปัญญาให้สูงขึ้น โดยพัฒนาด้านพฤติกรรม คือ ศีล เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่สร้างความเดือดร้อนและพัฒนาด้านจิตใจ คือ สมาธิ เพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะในการดําเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงาม เกิดปัญญาสามารถเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคโควิด-19 มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพกาย จิต อารมณ์ สังคมในปัจจุบัน
ไตรสิกขาจึงมีความสัมพันธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิต หากบุคคลหมั่นศึกษาและฝึกฝนปฏิบัติตามหลักธรรมไตรสิกขา พัฒนาศีลให้สะอาด ระบบการอยู่ร่วมกันใหม่ พัฒนาจิตให้บริสุทธิ์ มีสติ ระลึกรู้ก่อนและขณะที่คิด พูดหรือกระทํา มีจิตสํานึกใหม่ พร้อมเผชิญปัญหาอย่างมีสติ เกิดเป็นปัญญา มีวิธีคิดใหม่ รอบรู้ สามารถแก้ปัญหาตนเองในครอบครัวและสังคม นอกจากนี้สมาธิยังส่งผลต่อการ มีสุขภาพทางร่างกายและทางจิตใจที่ดี ไตรสิกขาจึงพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่มีสมบูรณ์ทั้งสุขภาพกาย จิต อารมณ์ สังคม และปัญญา สามารถปรับตัวได้ดี รับมือกับปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม มีความสงบสุขในสังคม เกิดสันติสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “ไตรสิกขากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Trisikkha to Improve Quality of Life)”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *